หมู่บ้านทำร่มบ่อสร้าง

หมู่บ้านทำร่มบ่อสร้าง

บ้านบ่อสร้าง หมู่บ้านทำร่ม

หมู่บ้านทำร่ม

เป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดเชียงใหม่มาช้านานหลายชั่วอายุคนแล้ว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวเชียงใหม่ส่วนใหญ่จะต้องแบ่งเวลาแวะเวียนไปที่อำเภอสันกำแพง เพื่อชมและเลือกซื้อร่มบ่อสร้างที่บ้านบ่อสร้างเป็นที่ระลึกติดมือกลับมา

บ้านบ่อสร้าง

ร่มบ่อสร้าง เป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดเชียงใหม่มาช้านานหลายชั่วอายุคนแล้ว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวเชียงใหม่ส่วนใหญ่จะต้องแบ่งเวลาแวะเวียนไปที่อำเภอสันกำแพง เพื่อชมและเลือกซื้อร่มบ่อสร้างที่“บ้านบ่อสร้าง”เป็นที่ระลึกติดมือกลับมา ถือเป็นสินค้าพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ สาเหตุที่เรียกว่าร่มบ่อสร้างเพราะร่มนี้ผลิตกันที่บ้านบ่อสร้าง สมัยก่อนชาวบ้านจะ ทำร่มกันใต้ถุนบ้าน แล้วนำออกมาวางเรียงรายเต็มกลางลานบ้านเพื่อผึ่งแดดให้แห้ง สีสันและลวดลายบนร่มนั้น สะดุดตาผู้พบเห็น มีทั้งหมด 3 ชนิดด้วยกัน คือ ร่มที่ทำด้วยผ้าแพร ผ้าฝ้าย และกระดาษสา แต่ละชนิดมีวิธีทำอย่างเดียวกัน หากนักท่องเที่ยวประสงค์จะชมขั้นตอนการผลิตไปชมได้ที่ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่ม

บ้านบ่อสร้าง หมู่บ้านทำร่ม

บ้านบ่อสร้าง หมู่บ้านทำร่ม

บ้านบ่อสร้าง หมู่บ้านทำร่ม

บ้านบ่อสร้าง หมู่บ้านทำร่ม

ประวัติความเป็นมา
ร่มบ่อสร้าง ในสมัยโบราณมีพระธุดงค์รุปหนึ่งมาปักกลดที่บ้านบ่อสร้าง ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ปรากฎว่ามีลมแรงพัดกลดเสียหายใช้การไม่ได้ ชายชราชื่อนายเผือกเป็นชาวบ้านบ่อสร้างได้ซ่อมให้ แล้วก็เกิดความคิดว่าถ้ากลดมีคันยาวก็้จะใช้ถือไปไหนมาไหนได้สะดวกจึงคิดดัดแปลงจากกลดโดยใส่คันร่มเข้าไปจนกลายเป็นร่มในสมัยแรกๆ ก็ใช้สีของเปลือกไม้ทาเป็นลักษณะสีพื้นสีเดียวคือสีแดงครั้นต่อมาได้วิวัฒนาการเขียนลวดเป็นดอกไม้โดยทาพื้นเป็นสีต่างๆตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันหมู่บ้านบ่อสร้างก็ยังคงทำร่มกันทุกครัวเรือนและเป็นหมู่บ้านเดียวในประเทศไทยที่ยังรักษาเอกลักษณ์ในการทำร่มนี้ไว้

ร่มบ่อสร้างจึงเป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดเชียงใหม่มาช้านานหลายชั่วอายุคนแล้ว อีกทั้งยังถือเป็นสินค้า OTOP ที่สร้างมูลค่ารายได้ให้แก่ชาวบ้านบ่อสร้างกันอีกด้วย ด้วยเหตุนี้นักท่องเที่ยวจึงเดินทางไปแวะเวียนเที่ยวที่อำเภอสันกำแพงเพื่อชม และเลือกซื้อร่มบ่อสร้างที่บ้านบ่อสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกและซื้อเป็นของฝาก

บ้านบ่อสร้าง หมู่บ้านทำร่ม

บ้านบ่อสร้าง หมู่บ้านทำร่ม

ชาวบ่อสร้างทั้งตำบลรวมไปถึงอีก 8 หมู่บ้านในตำบลใกล้เคียงของพื้นที่อำเภอสันกำแพง และอำเภอดอยสะเก็ด ในจังหวัดเชียงใหม่ล้วนแต่เป็นแหล่งผลิตร่มด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่างานทำมือของชาวบ้านได้กลายเป็นโรงงาน อุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่หลายร้อยครัวเรือนในหลายๆ หมู่บ้าน การผลิตชิ้นส่วนร่มเป็นหน้าที่ของแรงงานที่เป็นชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านตั้งแต่รุ่นพ่อเฒ่าแม่เฒ่าลงมาจนถึงคนหนุ่มสาวนับพันๆ คน ดังนั้นบ่อสร้างจึงเป็นเพียงหมู่บ้านประกอบร่มโดยมีชิ้นส่วนต่างๆ ของร่มเดินทางมาจากต่างหมู่บ้าน ซึ่งส่วนประต่างๆ ของร่มที่เกิดจากแรงงานใต้ถุนบ้านและกระจายกันอยู่ทั่วไปก็จะมารวมกันอยู่ที่นี่เป็นจุดสุดท้าย การทำร่มบ่อสร้างมีมานับร้อยปี ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงมีความถนัดในการทำร่มแตกต่างกันไปตามชิ้นส่วนที่ได้รับมอบหมายในการผลิต เช่นหมู่บ้านสันพระเจ้างาม ผลิตหัวร่มและตุ้มร่ม บ้านออนทำโครงร่ม บ้านหนองโค้งหุ้มร่ม และลงสี บ้านแม่ฮ้อยเงิน อำเภอดอยสะเก็ดผลิตด้ามร่ม บ้านต้นเปาผลิตกระดาษสาแต่การประกอบชิ้นส่วนของ ร่มทั้งหมดจะมารวมกันอยู่ที่บ่สร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบายลวดลาย และสีสันบนผืนร่มที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์อันเลื่องชื่อของร่มบ่อสร้าง มีกลเม็ดเคล็ดลับในการทำร่มอยู่ที่การใช้แป้งเปียกผสมน้ำมะโก้ติดผ้า หรือกระดาษเข้ากับร่มทำให้ติดทนนานไม่หลุดร่อนก่อนเวลาอันควร และเวลาลงสีน้ำมันที่ต้องผสมกับน้ำมันมะมื้อ หรือน้ำมันตังอิ๊วที่ทำให้ร่มทนแดด ทนฝน และใช้งานได้จริงไม่ว่าหน้าฝนหรือหน้าร้อนเพราะฉะนั้น นอกจากร่มบ่อสร้างจะเป็นของที่ระลึกสวยงามแล้วยังสามารถคุ้มแดดคุ้มฝนได้เป็นอย่างดี

หมู่บ้านทำร่ม

บ้านบ่อสร้าง หมู่บ้านทำร่ม

บ้านบ่อสร้าง หมู่บ้านทำร่ม

หมู่บ้านทำร่มบ่อสร้าง ตั้งที่อยู่ ต.ต้นเปา ริมถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง พอเข้าไปถึงก็จะเห็นสัญลักษณ์เป็นร่มสีสันสะดุดตาและสวยงาม หากเห็นนั่นก็แปลว่ามาถึงแล้วคะ หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ ชมรมส่งเสริมอาชีพการทำร่มผู้สูงอายุบ้านบ่อสร้าง โทร. 08-4687-3373 หรือ 08-1179-3536

การเดินทาง โดยรถยนต์จากสะพานนวรัฐ วิ่งตรงในถนนเจริญเมืองไปสี่แยกสันกำแพงจะสังเกตเห็นแม็คโครอยู่ซ้ายมือให้ตรงไป ใช้เส้นทางหลวง 1006 ประมาณ 9 กม.จะพบสี่แยกไฟแดงให้เลี้ยวซ้ายตรงไปอีก 500 ม.ก็จะถึงหมู่บ้านร่มบ่อสร้าง รถประจำทาง/รถตู้ รถสองแถวเล็กสีขาว สายเชียงใหม่-สันกำแพง จอดอยู่หลังตลาดต้นลำไย

การเดินทาง

การเดินทาง

ที่มา : http://www.dooasia.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์